สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

การที่รู้ว่ามิได้เกิดเหตุลักทรัพย์รถไม่ได้ถูกลักแต่แจ้งความว่าถูกลัก

การกระทำความผิดต่อกฎหมายนั้น มีหลายรูปแบบซึ่งเกิดจากความทุจริตของผู้กระทำความผิดหรือเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามกฎหมายแล้วก็ออกกฎหมายมาเพื่อกำบังไม่ให้คนเหล่านี้เกิดการกระทำความผิดต่อสังคมได้ ดังนั้น หากบ้านเมืองใดมีกฎหมายมากนั้นหมายความว่าบ้านเมืองนั้นมีความวุ่นวายมากซึ่งเป็นต้องอาศัยหลักเกณฑ์มากำกับดูแลผู้กระทำความผิดเหล่านี้ต่อไป
ซึ่งการที่ผู้กระทำความผิดได้เช่าซื้อรถยนต์แล้วมีประกันภัยรถยนต์หายแล้วมีข้อสัญญาตามสัญญาประกันภัยว่า หากรถยนต์ที่เช่าซื้อหายไปบริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อเท่าที่ค้างชำระ ผู้กระทำความทราบดีว่า รถยนต์ที่เช่าซื้อไม่ได้หายไปแต่กลับเดินทางไปที่สถานีตำรวจแล้วพบพนักงานสอบสวนแล้วแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า รถยนต์ที่เช่าซื้อหายไป ขอให้ดำเนินคดีกับผู้ลักรถยนต์ที่เช่าซื้อ เพื่อผู้กระทำความผิดจะได้นำเอาบันทึกประจำวันไปขอเบิกเงินตามสัญญาประกันภัย จึงเป็นความผิด ตามมาตรา 173 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ทั้งนี้ ให้ศึกษาคำพิพากษาของศาลฎีกาดังนี้ประกอบเพื่อความเข้าใจดังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2561 การที่จำเลยรู้ว่ามิได้เกิดเหตุลักทรัพย์รถกระบะ แต่กลับแจ้งแก่พนักงานสอบสวนว่ามีคนร้ายลักทรัพย์รถกระบะที่จำเลยเช่าซื้อไป เพื่อจะนำเงินที่ได้รับจากบริษัทผู้รับประกันภัยไปชำระค่างวดแก่ธนาคาร ก. ผู้ให้เช่าซื้อ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173 อันเป็นบทบัญญัติเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่ว ๆ ไปอีก และเมื่อไม่เกิดมีความผิดอาญาฐานลักทรัพย์เกิดขึ้นในคดีนี้ จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 172
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหากมีเจตนาทุจริตแล้ว กฎหมายย่อมสามารถเอาผิดได้ทุกกรณี แต่จะมากหรือน้อยหรือไม่เป็นความผิดเลย ก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไป