สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

หนังสือสัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้แล้ว ผู้ให้เช่าก็จะให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้ โดยผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าเช่าที่ดินดังกล่าวแล้วในค่าเช่าเดือนละ 800 บาท โดยผู้เช่ามิต้องจ่ายเงินเป็นก้อนเพิ่มเติม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นของฝ่ายผู้ให้เช่าที่จะให้ผู้เช่าเลือกจะบังคับผู้ให้เช่าให้ต้องยอมทำสัญญาเช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปีหรือไม่ และตามข้อตกลงนี้มีผลทำให้ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายลูกหนี้ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาได้ก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่า ผู้เช่าได้แจ้งความจำนงขอเช่าต่ออีก 10 ปี ผู้ให้เช่าจะไม่ยอมให้เช่าไม่ได้.

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2533

 

คดีทั้งสองสำนวนโจทก์จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกัน ศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน

สำนวนแรกโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไประหว่างเดือนธันวาคม 2505 จนถึงเดือนมกราคม 2525 รวม 640,289.31 บาท พร้อมดอกเบี้ย สำนวนหลังโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไประหว่างวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2525 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2525 รวม33,958.36 บาท พร้อมดอกเบี้ย

จำเลยที่ 1 ถึงที่ 10 (เว้นจำเลยที่ 3 ในสำนวนหลัง) ให้การทั้งสองสำนวนทำนองเดียวกันว่าได้ชำระค่าไฟฟ้าแก่โจทก์ตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์เรียกเก็บทุกครั้ง โจทก์ได้รับชำระครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์เรียกเก็บค่าไฟฟ้าย้อนหลังจากจำเลย โดยอ้างว่าพนักงานของโจทก์ไม่ได้คูณจำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องวัดด้วย 10 ก่อนนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยไม่ได้ยินยอมและรับรู้ด้วย และเป็นความประมาทเลินเล่อของพนักงานโจทก์เอง ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 3 ในสำนวนหลังขาดนัดยื่นคำให้การ

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสิบร่วมกันใช้เงินจำนวน246,062.21 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่4 กุมภาพันธ์ 2526 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 รับผิดไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกของนายสวัสดิ์ เหตระกูล ที่ตกทอดแก่จำเลยแต่ละคน ให้ยกฟ้องโจทก์ในสำนวนคดีหลัง คำขออื่นของโจทก์นอกจากนี้ให้ยก

โจทก์และจำเลยที่ 10 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสิบตามสำนวนคดีหลังร่วมกันชำระเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่เครื่องวัดเดินช้าแก่โจทก์เป็นเงิน36,615.99 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงิน 33,958.66 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยที่ 10 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "...จำเลยที่ 10 ฎีกาประการที่สามว่าโจทก์จำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ประชาชน จึงอยู่ในฐานะพ่อค้า การฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ (กระแสไฟฟ้า) จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนอันเป็นการสาธารณูปโภคและได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน จึงมิใช่เป็นพ่อค้า ตามความในมาตรา 165(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าดังกล่าวเมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ดังนั้นฟ้องของโจทก์ที่เรียกค่าไฟฟ้าจากจำเลยในส่วนที่ไม่เกิน 10 ปีก่อนวันฟ้อง จึงยังไม่ขาดอายุความดังที่จำเลยที่ 10 ฎีกา...

จำเลยที่ 10 ฎีกาประการที่ห้าว่า จำเลยที่ 10 ได้ชำระค่าไฟฟ้าตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์เรียกเก็บโดยโจทก์ออกใบเสร็จรับเงินให้โดยมิอิดเอื้อน ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อน ๆนั้นแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าจากจำเลยย้อนหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 นั้น ศาลฎีกาเห็นว่ากรณีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์คำนวณหน่วยกระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 10ใช้ผิดไปเพราะไม่ได้นำตัวเลขในเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามาคูณด้วย 10ตามลักษณะของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้งให้จำเลยที่ 10และจำเลยที่ 10 ได้รับประโยชน์ในการใช้กระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณผิดหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินให้จำเลยที่ 10 โดยไม่อิดเอื้อนดังที่จำเลยที่ 10 ฎีกาไม่ จำเลยที่ 10 จึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 10 ฟังไม่ขึ้น

จำเลยที่ 10 ฎีกาประการที่หกว่า ฟ้องของโจทก์ทั้งสองสำนวนนี้เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำกัน ศาลฎีกาเห็นว่า คดีสำนวนแรกโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไประหว่างเดือนธันวาคม 2505จนถึงเดือนมกราคม 2525 แต่สำนวนหลังโจทก์ฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คิดขาดไประหว่างวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2525 ถึงวันที่ 29ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากัน ดังนั้นฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจึงมิใช่ฟ้องเรื่องเดียวกัน และโดยอาศัยเหตุเดียวกันไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำ ดังที่จำเลยที่ 10 ฎีกา ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 10ฟังไม่ขึ้น

จำเลยที่ 10 ฎีกาประการสุดท้ายว่า ความเสียหายของโจทก์หากจะมีเกิดขึ้น ก็เกิดจากความผิดของพนักงานโจทก์เอง ซึ่งถือเสมือนว่าเป็นความผิดของโจทก์ด้วย จำเลยที่ 10 จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์คำนวณผิด และโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้โดยไม่สุจริต เพราะความเสียหายเกิดขึ้นจากความผิดของพนักงานโจทก์เองชอบที่โจทก์จะไปไล่เบี้ยเอากับพนักงานของโจทก์ ศาลฎีกาเห็นว่าแม้จะเป็นความผิดของพนักงานโจทก์ที่จดตัวเลขเครื่องวัดหน่วยกระแสไฟฟ้าแล้วได้ไม่นำมาคูณด้วย 10 เป็นเหตุให้โจทก์เรียกเก็บค่าไฟฟ้าจากจำเลยที่ 10 น้อยกว่าค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 10 ใช้ไปจริงก็ตาม แต่จำเลยที่ 10 ก็ได้ประโยชน์จากการใช้กระแสไฟฟ้าตามที่จำเลยที่ 10 ใช้ไปจริง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าในส่วนที่ยังขาดจากจำเลยที่ 10 ได้ และจะถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่10 โดยใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่ เพราะเป็นสิทธิโดยชอบของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยที่ 10 ผู้ใช้กระแสไฟฟ้าได้ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 10 ฟังไม่ขึ้นดุจกัน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว"

พิพากษายืน.

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร