การจะได้รับประโยชน์ตามมาตรา 100/2 นั้น |
---|
การจะได้รับประโยชน์ตามมาตรา 100/2 นั้นจะต้องมีการสืบพยาน การให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม มาตรา 100/2 นั้น จะต้องกระทำการสืบพยานในศาลชั้นต้นเท่านั้น หากศาลได้พิพากษาไปแล้ว จะมาให้ข้อเท็จจริงภายหลังไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไต่สวนคำร้องดังกล่าวภายหลังก็ไม่เกิดผลเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่ว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้นได้ เพราะเป็นการกระทำที่นอกเหนืออำนาจของศาลชั้นต้น ดังนั้น การที่ผู้กระทำความผิดตกเป็นจำเลยในคดียาเสพติดจะต้องวางแผนให้การมาในศาลชั้นต้นและต้องกระทำการสืบพยานในศาลชั้นต้นให้เสร็จสิ้นก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี มิฉะนั้น ย่อมไม่อาจนำข้อเท็จจริงนี้ขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4267/2561 การให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกาก็ตาม แต่ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษนั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่มีการนำสืบกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งศาลจะหยิบยก ตามข้อ ๒. นั้น ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษนั้น จะต้องเป็นการในข้อมูลต่อพนักงานฝ่ายปกครอง พนักงานตำรวจ หรือศาล ที่ตนถูกดำเนินคดี ทั้งนี้ เมื่อมีการพิจารณาคดี จำเลยจะต้องยื่นคำร้องหรือคำแถลงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในการขอให้ศาลพิจารณาลดโทษ ตั้งแต่ศาลชั้นต้น หากไม่ได้แถลงไว้ในศาลชั้นต้น แต่กลับมาแถลงไว้ในคำอุทธรณ์ หรือฎีกาแล้ว ย่อมถือว่าเป็นกรณีที่ไม่ได้ยกเรื่องการขอลดโทษตามมาตรา ๑๐๐/๒ มาตั้งแต่ในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา จะรับไว้พิจารณาพิพากษาลดโทษให้ไม่ได้ ทั้งนี้ ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2562 แม้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 ให้อำนาจศาลลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ที่ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น แต่ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่ามีการนำสืบกันมาแล้วในศาลชั้นต้นตามประเด็นแห่งคดี จำเลยมิได้ยื่นคำร้องหรือแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า จำเลยได้ให้ข้อมูลสำคัญในคดีต่อเจ้าพนักงานตำรวจ จนสามารถขยายผลจับกุมผู้กระทำความผิดพร้อมยึดเมทแอมเฟตามีน 2,000 เม็ด แต่เมื่อจำเลยไม่สืบพยานให้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ไม่เคยเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบกันไว้ แม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะปรากฏตามสำเนาบันทึกจับกุมเอกสารท้ายคำร้องขอฝากขัง ครั้งที่ 1 ก็ตาม เมื่อโจทก์และจำเลยไม่เคยนำสืบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ไว้ในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อที่จำเลยเพิ่งยกขึ้น |
อ้างในชั้นอุทธรณ์ ถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงนี้ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 ดังนั้น การจะได้รับประโยชน์จากมาตรา ๑๐๐/๒ ได้นั้น จะต้องทำตามเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ครบถ้วน |