สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 79 ข้อบังคับของสมาคมอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้


(1) ชื่อสมาคม


(2) วัตถุประสงค์ของสมาคม


(3) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และที่ตั้งสำนักงานสาขาทั้งปวง


(4) วิธีรับสมาชิก และการขาดจากสมาชิกภาพ


(5) อัตราค่าบำรุง


(6) ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการของสมาคม ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้งกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ และการประชุมของคณะกรรมการ


(7) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการสมาคม การบัญชี และทรัพย์สินของสมาคม


(8) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่


 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2525 นิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ถูกทางราชการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์และแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีไว้แล้ว ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 และมาตรา 1259 ถือว่าเป็นผู้กระทำแทนบริษัทดังกล่าวอยู่แล้ว เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บริษัทดังกล่าวเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 แต่สภาพการเป็นผู้แทนของบริษัทอย่างเช่นแสดงความประสงค์ขอประนอมหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 45 ยังมีอยู่ หาได้ขาดผู้เแทนแสดงความประสงค์ขอประนอมหนี้แต่อย่างใดไม่กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 79,80แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งคำขอของผู้ร้องเป็นการขอเป็นผู้แทนเฉพาะการของบริษัทโดยห้ามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการขัดขวางอำนาจจัดการบริษัทดังกล่าวซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ไม่มีกฎหมายสนับสนุน

 

ผู้ร้องร้องว่า บริษัทราชาเงินทุน จำกัด เป็นนิติบุคคลมีผู้ร้องทั้งสองเป็นกรรมการตั้งแต่ พ.ศ. 2509 ถึง วันที่ 11 สิงหาคม 2522 ทางราชการได้ออกคำสั่งควบคุมบริษัทราชาเงินทุนจำกัดต่อมาวันที่ 7 สิงหาคม 2522 ทางราชการได้ออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ และแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี ครั้นวันที่ 27 สิงหาคม 2523ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของบริษัทราชาเงินทุน จำกัดผู้ร้องทั้งสองในฐานะเจ้าหนี้ของบริษัทราชาเงินทุน จำกัด ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว แต่เนื่องจากผู้ชำระบัญชีของบริษัทราชาเงินทุนจำกัด ปราศจากอำนาจหน้าที่ในการขอประนอมหนี้ และมีอำนาจหน้าที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการขอประนอมหนี้ทั้งมีพฤติการณ์ลักษณะการกระทำตลอดจนการแสดงเจตนาเป็นปฏิปักษ์ต่อประโยชน์ของบริษัทราชาเงินทุน จำกัด ในการขอประนอมหนี้ ส่วนผู้แทนคนอื่น ๆของบริษัทราชาเงินทุน จำกัด สิ้นอำนาจไปแล้ว เป็นเหตุให้ผู้มีอำนาจจัดการว่างลงจนเป็นที่น่าวิตกว่าหากทิ้งตำแหน่งว่างไว้ช้าไปเกลือกจะเกิดความเสียหายขึ้นได้อาจถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายโดยไม่อาจแก้ไขได้ นอกจากนี้ศาลแพ่งได้มีคำสั่งในคดีล้มละลายว่ากรรมการบริษัทไม่มีอำนาจทำการแทนบริษัทราชาเงินทุน จำกัด และมีคำสั่งว่า บริษัทราชาเงินทุน จำกัด ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ผู้ชำระบัญชีย่อมหมดอำนาจไป แสดงว่าบริษัทราชาเงินทุน จำกัด ไม่มีผู้แทนอันจะแสดงความประสงค์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 เมื่อมีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้จัดการ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 79 และมีเหตุอันควรวิตกว่า ทิ้งตำแหน่งว่างไว้จะเกิดความเสียหาย ผู้ร้องทั้งสองในฐานะผู้มีส่วนได้เสียจึงจำต้องร้องขอต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 79, 80 ขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการชั่วคราวหรือผู้แทนเฉพาะการมีอำนาจทำการขอประนอมหนี้และกระทำการตามที่จำเป็น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการชั่วคราว หรือผู้แทนเฉพาะการสำเร็จลุล่วงไปโดยมีอำนาจกระทำการร่วมกันหรือแยกกันในนามบริษัทราชาเงินทุน จำกัด กับห้ามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการขัดขวางผู้ร้องทั้งสองในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งศาล

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า บริษัทราชาเงินทุน จำกัด ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วและยังมีผู้ชำระบัญชีอยู่ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 79, 80 ให้ยกคำร้อง

ผู้ร้องทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า บริษัทราชาเงินทุน จำกัด ก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ทางราชการได้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจและธุรกิจหลักทรัพย์และแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีไว้แล้ว ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250, และมาตรา 1259ถือว่าเป็นผู้กระทำการแทนลูกหนี้อยู่แล้ว เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 แต่สภาพการเป็นผู้แทนของบริษัทอย่างเช่นแสดงความประสงค์ขอประนอมหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 45ยังมีอยู่ ดังนั้นที่ผู้ร้องฎีกาว่า บริษัทผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ขาดผู้แทนแสดงความประสงค์ขอประนอมหนี้จึงไม่ถูกต้อง และกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 79, 80 ทั้งคำขอของผู้ร้องเป็นการขอเป็นผู้แทนเฉพาะการของบริษัทโดยห้ามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการขัดขวางอำนาจจัดการบริษัทดังกล่าวซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ไม่มีกฎหมายสนับสนุนที่ศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง ชอบแล้ว

พิพากษายืน