ออกเช็คชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในสมุดเช็คของผู้อื่นมีความผิดหรือไม่ |
---|
เช็คเป็นเอกสารที่ใช้สำหรับชำระหนี้แทนเงินสด หากว่าเช็คนั้นสามารถขึ้นเงินและธนาคารผู้จ่ายจ่ายเงินตามเช็ค ทำให้มีผลทำให้หนี้ระหว่างผู้ออกเช็คและผู้ทรงเช็คหรือผู้ได้รับเช็คซึ่งเป็นเจ้าหนี้นั้นระงับสิ้นไป เช็คจึงเปรียบเสมียนเป็นเงินสดไว้ใช้สำหรับชำระหนี้ รัฐจึงออกกฎหมายมาเพื่อกำกับดูแลเช็คให้มีความศักดิ์สิทธิ์และมีความน่าเชื่อถือในตัวเองมากที่สุด ดังนั้น จึงตราเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งในพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดโทษทางอาญาเอาไว้ นั้นหมายความว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย โดยบัญญัติไว้อยู่ในมาตรา ๔ ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติว่าความรับผิดอันเกิดจากการใช้ พ.ศ.๒๕๓๔ มาตรา ๔ ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ วรรคสอง เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 |
จำเลยที่ 1 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
บทความอื่นที่น่าจะสนใจ-การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค นั้นจะต้องเป็นหนี้ที่บังคับได้ - ไม่ได้ลงวันที่ในเช็คจะมีความผิดหรือไม่ -จงใจลงลายมือชื่อในเช็คไม่เหมือนตัวอย่างที่ให้ไว้แก่ธนาคารจะมีผลอย่างไร -สัญญากู้ระบุว่าเช็คค้ำประกันแต่เจตนาเพื่อชำระหนี้เงินกู้
|