เลิกจ้างได้ค่าชดเชยอย่างไรและเงื่อนไขการได้ค่าชดเชย |
---|
ก่อนอื่นนั้น การจะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย จะต้องมีความสัมพันธ์ทางด้านกฎหมาย ระหว่าง นายจ้างและลูกจ้างเสียก่อน หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็น “สัญญาจ้างแรงงาน” นั้นเอง จึงมีปัญหาในใจของผู้อ่านที่ต้องการถามว่า แล้วสัญญาจ้างแรงงานจะต้องมีทำเป็นสัญญาที่เป็นกระดาษลงลายมือชื่อระหว่างนายจ้างและลูกจ้างหรือไม่ คำตอบว่า ไม่จำเป็นต้องมีสัญญาที่เป็นกระดาษ เพียงแต่มีการตกลงว่าต้องการจ้างแรงงานและจ้างเงินค่าจ้างเป็นสินจ้างในการทำงานนั้นๆ ให้ก็เป็นสัญญาจ้างแรงงานได้ตามกฎหมายแล้ว ตัวอย่างเช่น นายร่ำรวยต้องการจ้างแรงงานนายแดงมาทำงานที่ร้านอาหาร ทำงานตั้งแต่ 8 โมงเช้า เลิกงาน 5 โมงเย็น โดยไม่ได้มีการเช็นเอกสารหรือหนังสือสัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายร่ำรวยกับนายแดง เช่นนี้ ความสัมพันธ์ระหว่าง นายร่ำรวยกับนายแดง ก็เป็นการจ้างแรงงานที่มีสัญญาจ้างแรงงานระหว่างกันแล้ว เป็นต้น ทั้งนี้ คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 2652/2529 ได้มีคำตัดสินว่า แม้สัญญาจ้างโจทก์ที่ 1 จะได้ทำขึ้นก่อนที่จำเลยจะได้จดทะเบียนเป็นบริษัทก็ตามแต่ก็อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อตั้งบริษัทและสัญญาดังกล่าวมี ส. ผู้เริ่มก่อการของบริษัทซึ่งต่อมาได้เป็นกรรมการบริษัทเมื่อจดทะเบียนแล้วเป็นผู้ลงชื่อในนามของบริษัทจำเลยในฐานะผู้ว่าจ้างและได้ทำสัญญากันก่อนจดทะเบียนตั้งบริษัทเพียง 7 วัน ทั้งหลังจากบริษัทมีสภาพเป็นนิติบุคคลแล้วก็ยอมรับผลแห่งสัญญาจ้างดังกล่าวจ้างโจทก์ที่ 1 และจ่ายค่าจ้างให้ต่อมาดังนี้โจทก์ที่ 1 จึงเป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลยแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 หาได้บัญญัติว่า สัญญาจ้างแรงงานจะต้องทำเป็นหนังสือไม่ เพียงแต่ตกลงจ้างและให้สินจ้างกันสัญญาจ้างแรงงานย่อมเกิดแล้ว ส. กรรมการบริษัทจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ได้ทำงานให้บริษัทจำเลยและจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ที่ 2 ตลอดมาเป็นเวลา 4 เดือน ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยแล้วโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าสัญญาที่ทำเป็นหนังสือดังกล่าว ส. ทำไปโดยชอบด้วยข้อบังคับของบริษัทจำเลยหรือไม่ |
การที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างนั้น มีหลายกรณี ดังนี้ ตัวอย่าง กรณีนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ดังนี้ ตัวอย่างที่ ๒. จำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการขุดเจาะปิโตรเลียม โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำงานตำแหน่งวิศวกรตรวจวัดขณะขุดเจาะ ประจำแท่นขุดเจาะน้ำมัน อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร โจทก์ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ขณะออกปฏิบัติงานภาคสนามเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 2 เป็นกรณีที่ร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง (4) จำเลยที่ 2 จึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9042/2559) ตัวอย่างที่ ๓. โจทก์เป็นผู้จัดการสาขาของจำเลย เป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากจำเลยให้เป็นผู้บริหารระดับสูงจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับการเงินโดยเคร่งครัดเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและป้องปรามมิให้เกิดการทุจริต การที่โจทก์เบิกเงินค่าใช้จ่ายจำนวน 1,400 บาท โดยไม่ได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจตามระเบียบของจำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง (4) จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6691/2559) ตัวอย่างที่ ๔. โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างของจำเลยปฏิบัติงานฝ่ายพัสดุที่โรงงานหลังคาเหล็ก จำเลยมีขั้นตอนการดำเนินงานให้พนักงานฝ่ายพัสดุปฏิบัติตามเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับจำเลย การที่โจทก์ทั้งสามไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงาน จนทำให้พัสดุขาดหายไปคิดเป็นเงินจำนวนมาก แม้สาเหตุที่พัสดุขาดหายไปอาจเกิดจากการทุจริตของผู้อื่นก็ตาม แต่การที่โจทก์ทั้งสามไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานของจำเลยก็ย่อมเป็นการเปิดโอกาสให้พัสดุสูญหายได้ง่ายขึ้น และหากโจทก์ทั้งสามปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานของจำเลยอย่างเคร่งครัดแล้วพัสดุอาจจะไม่ขาดหายก็ได้ทั้งการที่โจทก์ทั้งสามยังยึดติดกับการปฏิบัติอย่างเดิมๆ เช่นเคยปฏิบัติมาก็แสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสามไม่นำพาต่อระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมอันจะทำให้การบริหารจัดการงานของนายจ้างไม่สามารถดำเนินการให้สัมฤทธิ์ผลได้ การกระทำของโจทก์ทั้งสามแม้จะไม่ปรากฏว่ากระทำโดยทุจริต แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมเป็นกรณีที่ร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง (4) และเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามตามมาตรา 119 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 67 ทั้งการกระทำของโจทก์ทั้งสามดังกล่าวยังเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ทั้งสาม(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15117 - 15120/2558) การที่นายจ้างไม่จ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในทันทีมีผลอย่างไร จากหลักกฎหมายดังกล่าว หากนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างแล้ว จะต้องเสียดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เงินที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ดังนั้น นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้าง มิฉะนั้น จะต้องถูกเรียกดอกเบี้ยผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี
|