การปลอมเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม่ |
---|
การปลอมเอกสารซึ่งจะเป็นความผิดตามกฎหมายนั้น กฎหมายได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ซึ่งบัญญัติว่า” ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ |
แบ่งแยกและซื้อขายได้ จึงเป็นเอกสารที่แสดงให้ผู้อื่นเชื่อว่า จำเลยที่ 2 มีเงินฝากตามจำนวนในเอกสารฝากไว้กับโจทก์ร่วมและสามารถรับเงินฝากคืนจากโจทก์ร่วม สามารถเปลี่ยนมือแบ่งแยกและซื้อขายได้ด้วย จึงเป็นเอกสารที่ก่อให้เกิดสิทธิดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ใบรับรองเงินฝากดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิ การที่จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าใบรับรองเงินฝากเป็นเอกสารสิทธิปลอมแล้วจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ร่วมจัดส่งเอกสารสิทธิปลอมดังกล่าวไปต่างประเทศ โดยผ่านแผนกไปรษณียภัณฑ์ในธุรกิจของโจทก์ร่วมด้วยการปิดผนึกซองเขียนชุดใบนำส่งเอกสารการของธนาคารโจทก์ และใบนำส่งไปรษณีย์มอบให้แก่พนักงานโจทก์ร่วมผู้มีหน้าที่จัดส่งเอกสารตามวิธีการจัดส่งเอกสารในธุรกิจโจทก์ร่วมครบถ้วนแล้ว จึงเป็นการลงมือใช้หรืออ้างเอกสารที่เกิดจากกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ แม้เอกสารสิทธิปลอมจะปิดผนึกอยู่ในซองและพนักงานผู้จัดส่งเอกสารของโจทก์ร่วมตรวจเห็นพิรุธจนพบว่าเอกสารสิทธิที่จัดส่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมก่อนที่เอกสารจะส่งถึงผู้รับในต่างประเทศ ก็เป็นการใช้หรืออ้างเอกสารสิทธิปลอมเป็นความผิดสำเร็จ โดยไม่ต้องรอผลของการใช้หรืออ้างว่าผู้รับหรือผู้ถูกอ้างจะได้รับเอกสารสิทธิปลอมที่จัดส่งไป เพราะจำเลยที่ 1ได้ใช้หรืออ้างเอกสาร การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวถือได้ว่ากระทำไปในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม ผู้อื่นหรือประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมความผิดฐานปลอมเอกสารไม่จำต้องมีเอกสารที่แท้จริงอยู่ก่อน |