สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

                สัญญาจ้างก่อสร้างหรือสัญญาจ้างทำของ หากมีข้อตกลงว่า เมื่อสัญญาเลิกกัน ให้ทรัพย์สินที่ก่อสร้างมาแล้วตกเป็นของผู้ว่าจ้าง ข้อสัญญาดังกล่าว มีผลใช้บังคับได้เพียงใด

ก่อนที่จะเข้าเรื่องราวของสัญญาว่าจ้างนั้น ทนายความเชียงใหม่ เกริ่นนำเรื่องราวที่น่าสนใจว่า การเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างนั้นจะต้องเลือกผู้รับเหมาที่มีความเชี่ยวชาญในด้านที่เราจะว่าจ้างให้ทำในสิ่งนั้นๆ และต้องเลือกผู้รับเหมาที่มีผลงานให้ดูด้วย  , ต้องมีทัศนคติที่ตรงกับเราด้วย รวมถึง ผู้รับเหมาต้องมีมาตรฐานในการทำงาน เช่นดูจากการมาตามนัดหมายเพื่อดูงานเจรจาพูดคุยกันให้ตรงต่อเวลา เป็นต้น ๔ ปัจจัยเหล่านี้ เป็นการสังเกตผู้รับเหมาพื้นฐาน
เอาละมาเข้าเรื่องกันเลยดีว่า เมื่อเราได้เลือกผู้รับเหมาเป็นผู้รับจ้างก่อสร้างเราให้แก่เราแล้ว หากปรากฏว่า เราในฐานะผู้ว่าจ้างจะต้องเป็นผู้ร่างสัญญาว่าจ้างก่อสร้างด้วยตนเอง และมีข้อความว่า หากมีการเลิกจ้างแล้ว ให้ทรัพย์สินหรืองานที่ได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วนั้น ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้าง จึงมีปัญหาทางด้านกฎหมายว่า ข้อตกลงว่าให้ทรัพย์สินที่ได้ก่อสร้างไปแล้วนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างจะใช้บังคับได้เพียงใด ซึ่งในประเด็นนี้ จะมีคำถามต่อไปว่า หากผู้ว่าจ้างยังไม่ได้ชำระเงินค่างวดเพราะงวดงานไม่แล้วเสร็จ แต่งานนั้นได้ดำเนินการในงวดงานนั้นไปแล้วประมาณร้อยละ 90 ย่อมส่งผลตามมาอย่างแน่นอนว่า แล้วแบบนี้จะเกิดความเป็นธรรมต่อผู้รับจ้างได้อย่างไร

 
 

ทนายความเชียงใหม่จึงได้นำเอาคำตัดสินหรือคำพิพากษาของศาลฎีกา มาให้ท่านได้ศึกษา ดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4330/2554 เมื่อสัญญาเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้ ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสาม การที่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยในข้อ 9 ระบุให้บรรดางานที่โจทก์ได้ทำขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยโจทก์จะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้ เพื่อเป็นผลให้จำเลยไม่ต้องใช้ค่างานแก่โจทก์ จึงเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า อันเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง หาใช่ว่าจะต้องบังคับตามข้อสัญญาโดยเด็ดขาดเป็นผลให้จำเลยไม่ต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งงานแก่โจทก์เสมอไปไม่
ทำให้เห็นว่า ศาลได้กำหนดให้ข้อสัญญาว่าจ้างก่อสร้างหรือสัญญาว่าจ้างทำของในลักษณะนี้ว่า เป็นเบี้ยปรับ และที่สำคัญศาลมีอำนาจที่จะปรับลดค่าเสียหายลดได้ตามสัดส่วนที่ได้เสียหายที่แท้จริง

 
โดย ทนายความเชียงใหม่