สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินของเจ้าหนี้ กรณีเจ้าหนี้ได้ครอบครองยึดถือทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่
|
|||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การใช้สิทธิยึดหน่วงเป็นการใช้สิทธิในการคุ้มครองตนเองที่กฎหมายกำหนดให้กับเจ้าหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เพื่อให้คล้ายกับเจ้าหนี้มีประกันคือยึดถือตัวทรัพย์ไว้เป็นเครื่องต่อรองให้ลูกหนี้ชำระหนี้ โดยที่ยังไม่ต้องดำเนินการในการฟ้องร้องต้อศาล แต่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะนำทรัพย์นั้นออกขายเพื่อนำเงินมาชำระหนี้หรือดำเนินการใดๆ กับตัวทรัพย์นั้นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิเพียงยึดถือตัวทรัพย์นั้นไว้ไม่คืนให้ลูกหนี้เท่านั้น และไม่ว่าลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกจะเป็นเจ้าของทรัพย์ก็ไม่อาจใช้อำนาจกรรมสิทธิ์มาติดตามเอาทรัพย์คืนได้ และไม่อาจอ้างว่าเจ้าหนี้ยึดหน่วงทรัพย์ไว้โดยละเมิด แต่การใช้สิทธิยึดหน่วงนั้นทำได้เฉพาะกรณีที่กฎหมายกำหนดเท่านั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๔๑ “ผู้ใดเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่น และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้ชำระหนี้ก็ได้ แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ เมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนด โดยมีหลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิยึดหนาวงดังนี้ คือ ผลของการใช้สิทธิยึดหน่วง คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6664/2556 แม้จำเลยในฐานะผู้ให้กู้ยืมจะไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 เพราะหนี้เงินกู้ไม่เกี่ยวกับตัวทรัพย์พิพาท แต่เมื่อข้อตกลงตามสัญญากู้ระบุให้ผู้ให้กู้มีสิทธิยึดทรัพย์พิพาทไว้เป็นประกันจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้เป็นข้อตกลงที่คู่สัญญาสมัครใจทำกันไว้ ไม่ |
|||||||||
ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมมีผลบังคับ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิยึดถือทรัพย์ที่นำมาประกันไว้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้ตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอโฉนดที่ดิน และหนังสือสัญญากู้เงินคืนจนกว่าโจทก์จะได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลย |