สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

บุตรนอกสมรสมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายหรือไม่

 

กรณีปัญหาครอบครัวในสังคมไทยนั้นมีหลากหลาย กรณีหนึ่งก็คือ การมีบุตรนอกสมรสหรือมีบุตรร่วมกับภริยาอีกคนหนึ่ง หรือ การมีบุตรร่วมกันโดยไม่มีการจดทะเบียนสมรส บุตรทั้งสอง ๒ กรณีนี้เรียกว่า บุตรนอกสมรส ซึ่งจะมีประเด็นปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปว่า บุตรนอกสมรส มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้หรือไม่
ในปัญหานี้ กฎหมายพิจารณาจากการสืบสายโลหิตของผู้ตายหรือไม่ และพิจารณาจากผู้ตายได้ยอมรับต่อสังคมว่าเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่ หากข้อเท็จจริงเข้าหลักเกณฑ์ทั้งสองประการดังกล่าวแล้ว บุตรคนนั้นจึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมายและมิสิทธิรับมรดกอย่างเท่าเทียมกัน
ทนายเชียงใหม่ขอเล่ากรณีตัวอย่างดังนี้
กรณีดังกล่าว เคยมีข้อเท็จจริงขึ้นสู่ศาลและได้มีการพิจารณาคดีไว้โดยศาลพิจารณาจากคดีไว้ว่า  
โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเนื่องจากโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627, 1629 (1) ดังนั้น โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามมาตรา 1627 ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์เป็นบุตรของเจ้ามรดก และส่วนที่สองคือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของเจ้ามรดกที่รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรของตน เช่น เจ้ามรดกเป็นผู้แจ้งเกิดให้แก่โจทก์ว่าโจทก์เป็นบุตรของตน ยอมให้ใช้ชื่อสกุล เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู และส่งเสียให้การศึกษาเล่าเรียน ตลอดจนแนะนำและแสดงออกแก่บุคคลทั่วไปอย่างเปิดเผยว่าโจทก์เป็นบุตร

หลักฐานทางทะเบียนราษฎรระบุว่า โจทก์เป็นบุตรของ ข. กับ บ. สำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์ต้องมีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมั่นคงและน่าเชื่อถือมานำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงจะรับฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์

ข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวมีดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7272/2562

 

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 11303 เป็นสินสมรสของนายสีกับจำเลยที่ 1 ให้ตกเป็นกองมรดกของนายสีกึ่งหนึ่ง ให้สัญญาจำนองที่ดินของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ไม่ผูกพันที่ดินส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของนายสี และตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ให้แบ่งทรัพย์มรดกของนายสีแก่โจทก์ตามที่โจทก์ครอบครอง หรือตามเนื้อที่ที่เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำขึ้นตามคำสั่งศาล หากจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1

จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง

ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย นายอุทัย ผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 11303 เป็นสินสมรสของนายสี กับจำเลยที่ 1 และให้ตกเป็นกองมรดกของนายสีกึ่งหนึ่ง ให้แบ่งกองมรดกของนายสีให้แก่โจทก์ในฐานะทายาทนายสีตามส่วน ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยที่ 1 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในชั้นนี้ได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสี เจ้ามรดก มีบุตรด้วยกัน 5 คน เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ดินพิพาท คือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 11303 มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลยที่ 1 ซึ่งกึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ตกทอดแก่ทายาทของเจ้ามรดก

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ที่ได้รับอนุญาตให้ฎีกามีว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ เห็นว่า โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเนื่องจากโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627, 1629 (1) ดังนั้น โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามมาตรา 1627 ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์เป็นบุตรของเจ้ามรดก และส่วนที่สองคือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของเจ้ามรดกที่รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรของตน เช่น เจ้ามรดกเป็นผู้แจ้งเกิดให้แก่โจทก์ว่าโจทก์เป็นบุตรของตน ยอมให้ใช้ชื่อสกุล เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูและส่งเสียให้การศึกษาเล่าเรียน ตลอดจนแนะนำและแสดงออกแก่บุคคลทั่วไปอย่างเปิดเผยว่าโจทก์เป็นบุตร ในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์เป็นบุตรของเจ้ามรดกนั้น ปรากฏจากหลักฐานทางทะเบียนราษฎรว่า โจทก์เป็นบุตรของนายแข้น กับนางบุญชู เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มาตรา 127 โจทก์จึงต้องมีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมั่นคงและน่าเชื่อถือเพื่อให้รับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ แต่พยานโจทก์ทุกปากไม่ได้รู้เห็นการแจ้งเกิดและไม่ทราบเหตุผลที่มีการแจ้งเกิดว่าโจทก์เป็นบุตรของนายแข้น ที่นางแพงศรีพยานโจทก์เบิกความถึงเหตุผลในเรื่องนี้ว่า เหตุที่รายการทะเบียนราษฎรระบุชื่อนายแข้นเป็นบิดาของโจทก์น่าจะเกิดจากความคับแค้นใจของนางบุญชูที่ถูกเจ้ามรดกทิ้งไปมีภริยาใหม่จึงแจ้งดังกล่าว ก็เป็นเหตุผลตามความคิดเห็นของพยานซึ่งไม่เป็นการแน่นอนว่าจะเป็นความจริงเช่นนั้น ตัวโจทก์เองก็ไม่ได้เบิกความถึงเรื่องดังกล่าว ทั้งยังเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 1 ถามค้านว่า นายแข้นเป็นผู้ไปแจ้งต่อนายทะเบียนว่าโจทก์เป็นบุตรของนายแข้นและให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ จึงเห็นได้ว่าหากโจทก์ไม่ใช่บุตรของนายแข้นจริง นายแข้นก็ไม่น่าจะไปแจ้งเช่นนั้นเพราะบุคคลทั่วไปย่อมทราบดีว่าการแจ้งว่าบุคคลใดเป็นบิดาของเด็กเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งทั้งต่อตัวเด็กและบิดาตลอดจนครอบครัว เหตุผลตามที่อ้างจึงผิดปกติวิสัยของวิญญูชนทั่วไปและขัดต่อเหตุผล พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักพอหักล้างสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวได้ ส่วนข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าเจ้ามรดกรับรองว่าโจทก์เป็นบุตรของตนโดยการยอมให้ใช้ชื่อสกุลนั้น เมื่อปรากฏว่านายแข้นใช้ชื่อสกุลเดียวกับเจ้ามรดก การที่โจทก์ใช้ชื่อสกุลเดียวกับเจ้ามรดกจึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานที่แสดงว่าเจ้ามรดกยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลของเจ้ามรดก ที่โจทก์กล่าวอ้างว่า เจ้ามรดกอุปการะเลี้ยงดูโจทก์โดยมารับโจทก์ไปอยู่อาศัยด้วยตั้งแต่โจทก์อายุ 16 ปี จนกระทั่งโจทก์สมรส นั้น โจทก์ไม่มีพยานที่เป็นญาติฝ่ายเจ้ามรดกหรือพยานคนกลางมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงในส่วนนี้เลย พยานโจทก์มีเพียงญาติฝ่ายมารดาของโจทก์กับเพื่อนของสามีโจทก์ จึงมีน้ำหนักน้อย ทั้งพยานโจทก์ดังกล่าวก็ไม่ได้รู้เห็นและเบิกความถึงพฤติการณ์ของเจ้ามรดกในเรื่องนี้เลย ส่วนที่โจทก์อ้างพฤติการณ์ของเจ้ามรดกที่ว่า เจ้ามรดกยกที่ดินพิพาทให้โจทก์กับนายประยูรใช้ทำมาหากินเป็นโรงงานขนมจีนนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่นายประยูรออกจากที่ดินพิพาท ก็ไม่ปรากฏว่ามีการยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์อ้างว่า โจทก์อุปการะเจ้ามรดกกับจำเลยที่ 1 โดยทำประกันชีวิตให้แก่จำเลยที่ 1 นั้นก็ปรากฏตามกรมธรรม์ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกัน โดยโจทก์เกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์เท่านั้น พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่า โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว ซึ่งจะมีผลทำให้โจทก์เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่