สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

ความผิดตามมาตรา ๑๖๘ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นอย่างไร

กฎหมายเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งมาตรา ๑๖๘ นั้น เป็นเรื่องของการเกิดขึ้นของสัญญาทุกประเภท โดยกำหนดเรื่องของการเสนอและสนองระหว่างคู่สัญญามาพิจารณาว่า สัญญาเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ หากปรากฏว่า การเสนอและการสนองไม่ตรงกันทุกประการแล้ว สัญญาย่อมไม่เกิดขึ้น ทั้งนี้ การเสนอและการสนองทำให้สัญญาระหว่างกันได้เกิดมีขึ้นนั้น ยังรวมถึง การเสนอและการสนองทางโทรศัพท์ ทางสื่ออีเล็กทรอนิกส์ด้วย ดังที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๘ ว่า
“การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่ผู้รับการแสดงเจตนาได้ทราบการแสดงเจตนานั้น ความข้อนี้ให้ใช้ตลอดถึงการที่บุคคลหนึ่งแสดงเจตนาไปยังบุคคลอีกคนหนึ่งโดยทางโทรศัพท์ หรือโดยเครื่องมือสื่อสารอย่างอื่น หรือโดยวิธีอื่นซึ่งสามารถติดต่อถึงกันได้ทำนองเดียวกัน”
ยกตัวอย่างเช่น นาย เอ สั่งซื้อสินค้าเป็นโทรศัพท์มือถือ ๑ เครื่อง จากนาย บี ซึ่งนายบีได้เสนอขายโทรศัพท์มือถือทางสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ในราคาเครื่องละ ๔๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นการเสนอขายสินค้า การที่นายเอ สั่งซื้อสินค้ากับนายบี โดยพิมพ์ข้อความว่า ต้องการซื้อโทรศัพท์ ๑ เครื่อง ไปยังนายบี และนายบีตอบรับคำสั่งซื้อของนายเอ  เป็นการสนองรับคำเสนอของนายบีแล้ว ทำให้สัญญาซื้อขายโทรศัพท์มือถือได้เกิดขึ้น ดังนั้น นายเอจะต้องผูกพันตัวให้ต้องชำระเงินค่าสินค้าให้แก่นายบี และนายบีมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าคือ โทรศัพท์มือถือ ให้แก่นายเอ อันเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ตัดสินเกี่ยวกับการเสนอและการสนองทำให้สัญญาซื้อขายเกิดขึ้น ดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3720/2551 จำเลยทั้งสองสั่งซื้อสินค้าผ่านพนักงานของโจทก์ที่จังหวัดนครปฐมซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง จากนั้นพนักงานของโจทก์ส่งใบสั่งซื้อสินค้ามายังโจทก์ที่จังหวัดสมุทรปราการในเขตศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อโจทก์มีคำสั่งอนุมัติก็จะจัดส่งสินค้าไปให้จำเลยทั้งสองที่จังหวัดนครปฐม ดังนี้ เป็นการที่จำเลยทั้งสองทำคำเสนอต่อโจทก์ที่ไม่ได้อยู่เฉพาะหน้า หากโจทก์ประสงค์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยทั้งสองก็ต้องแสดงเจตนาบอกกล่าวสนองรับไปถึงจำเลยทั้งสอง อย่างไรตามการที่โจทก์จัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อไปให้จำเลยทั้งสองที่จังหวัดนครปฐมและจำเลยทั้งสองได้รับมอบสินค้าไว้แทนการบอกกล่าวสนองรับก็ถือว่าสถานที่รับมอบสินค้าเป็นสถานที่ที่มูลแห่งคดีได้เกิดขึ้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
จำเลยทั้งสองมิได้แสดงเจตนาให้ถือว่าการกระทำของโจทก์ที่อนุมัติและดำเนินการจัดส่งสินค้าแก่จำเลยทั้งสองเป็นการบอกกล่าวสนองรับ ทั้งไม่ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายมีประเพณีปฏิบัติเช่นนั้นที่จะทำให้ก่อเกิดสัญญาในอันจะทำให้เกิดมูลคดี ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น
แม้โจทก์จะอ้างว่าคู่สัญญาอาจตกลงทำสัญญากันทางโทรศัพท์หรือเครื่องโทรสารก็ตาม แต่คดีนี้เป็นสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง มิใช่เรื่องสัญญาระหว่างบุคคลที่อยู่เฉพาะหน้า ที่คู่สัญญาอาจเสนอและสนองรับกัน ณ สถานที่และในเวลาเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 168 และ 356

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

และคำพิพากษาที่ตัดสินเกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายว่า หากมีการผิดสัญญาซื้อขาย สามารถดำเนินการฟ้องร้องคดีในทางแพ่งได้ กล่าวคือ เรียกร้องให้ปฎิบัติตามสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๑๓ หรือจะบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๖ ได้
   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2541 แม้ตามสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาตาม มาตรา 213 วรรคหนึ่งหรือจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 ก็ได้สิทธิดังกล่าวนี้เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายส่วนการที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญากันว่าหากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เป็นเพียงการกล่าวย้ำถึงสิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 เท่านั้นมิได้เป็นการยกเลิกสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 213 วรรคหนึ่งในอันที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาดังนี้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเอาค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาได้ด้วยตามมาตรา 213 วรรคสี่

ดังนั้น การที่สั่งซื้อสินค้าแล้วไม่ยอมรับสินค้าจึงเป็นความผิดในทางแพ่ง ผู้ขายมีสิทธิในการฟ้องคดีในทางแพ่งหรือคดีแพ่งได้

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่