สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา ๗๒๙ ในการบังคับจำนองตามมาตรา ๗๒๘ ถ้าไม่มีการจำนองรายอื่นหรือบุริมสิทธิอื่นอันได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้ ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดภายในบังคับแห่งเงื่อนไขดังจะกล่าวต่อไปนี้แทนการขายทอดตลาดก็ได้
(๑) ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึงห้าปี และ
(๒) ผู้รับจำนองแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาทรัพย์สินนั้นน้อยกว่าจำนวนเงินอันค้างชำระ

 

คำพิพากษาที่น่าสนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4144/2532

โจทก์กู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 โดยจำนองที่พิพาทเป็นประกันต่อมาโจทก์ตกลงโอนที่พิพาทชำระหนี้เงินกู้ให้แก่จำเลยที่ 2ขณะโอนที่พิพาทมีราคาเท่ากับจำนวนหนี้ การตกลงดังกล่าวจึงเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองมีผลให้หนี้เงินกู้และสัญญาจำนองระงับไปตามมาตรา 321744และเป็นการที่โจทก์เอาทรัพย์จำนองตีใช้หนี้จำเลยที่ 2 หาใช่ผู้รับจำนองเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดซึ่งผู้จำนองจะต้องขาดส่งดอกเบี้ยถึง 5 ปี ตามมาตรา 729 ไม่.

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4144/2532

จำเลยกู้เงินโจทก์ไปโดยมีผู้อื่นจำนองที่ดินเป็นประกันโจทก์ฟ้องจำเลยและผู้จำนอง ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงินกู้และดอกเบี้ย ถ้าไม่ใช้ให้ผู้จำนองใช้แทนโดยให้ไถ่ถอนจำนองหรือขายทอดตลาดที่ดินเอาเงินใช้ จำเลยไม่ใช้และไม่มีทรัพย์ให้ยึดโจทก์จึงยึดที่ดินที่จำนอง แต่ยังไม่ทันขายทอดตลาดผู้จำนองได้ตกลงโอนที่ดินที่จำนองให้โจทก์เป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่ง หักแล้วยังมีหนี้ค้างชำระอยู่อีกการที่ผู้จำนองโอนที่ดินจำนองให้โจทก์นี้เป็นการเอาที่ดินจำนองตีใช้หนี้กันระหว่างโจทก์ผู้รับจำนองกับผู้จำนอง ไม่ใช่กรณีเอาทรัพย์จำนองหลุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 729 หรือเอาออกขายทอดตลาดตามมาตรา 728 จึงนำมาตรา 733 มาบังคับไม่ได้เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้ไปเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ก็ย่อมมีสิทธิ์เรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้เงินกู้ชำระส่วนที่ยังขาดอยู่ได้ เมื่อจำเลยยังเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่า 1,000 บาท และไม่มีทรัพย์สินให้ยึดมาชำระหนี้ ศาลพิพากษาในพิทักษ์ทรัพย์จำเลยโดยเด็ดขาดได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 42/2505)

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2500

ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองเอาทรัพย์ที่จำนองหลุดเป็นสิทธิตามประมวลแพ่งฯ มาตรา 729 ต้องบอกกล่าวให้ผู้จำนองทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 728 เพราะมาตรา728 และ 729 เป็นบทบังคับจำนอง ต้องอ่านคู่กันไป ถ้าไม่บอกกล่าวก่อน จะบังคับเอาทรัพย์ให้หลุดจำนองไม่ได้

 

 

 


 

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

 

--

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่