สัญญาไม่ได้ระบุว่าให้รับผิดกันเท่าไหร่ ถือว่าเป็นหนี้ร่วม |
---|
มารดากับบุตรทำสัญญาจะขายทรัพย์มฤดกรายเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อ ถือว่า เป็นสัญญาไม่อาจแบ่งแยก ผู้ซื้อจะมาฟ้องบังคับผู้ขายคนใดคนหนึ่งมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2493
ได้ความว่า ฮ.สามีจำเลยตายจำเลยกับเด็กชายบุญธรรมผู้รับมฤดกได้ทำสัญญาขายที่ดิน ๑ แปลง เรือน ๑ หลัง และยุ้งข้าว ๑ หลังให้โจทก์เป็นราคา ๑๓,๐๐๐ บาท จำเลยได้รับมัดจำไว้จากโจทก์ ๑๐๐๐ บาท อ.ผู้ปกครองเด็กชายบุญธรรมได้รับมัดจำไว้ ๑๐๐๐ บาท ต่อมา ฮ. ได้ฟ้องเรียกเด็กชายบุญธรรมคืนจาก อ. คดีเรื่องนั้นยังไม่มีโอกาศโอนที่ดินมฤดกใส่ชื่อจำเลยกับเด็กชายบุญธรรมได้เพราะยังไม่รู้ว่าใครจะเป็นผู้มีสิทธิร้องต่อ อำเภอแทนเด็กชายบุญธรรม โจทก์มาฟ้องขอให้จำเลยขายส่วนของจำเลยถ้าไม่ปฏิบัติให้ใช้ค่าเสียหายและคืนเงินมัดจำ จำเลยต่อสู้หลายประการ
|
ศาลฎีกาเห็นว่า สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยกับเด็กชายบุญธรรมนั้นเป็นสัญญาที่ไม่อาจแบ่งแยก ทั้งในสัญญาก็มิได้กล่าวไว้ว่าให้แยกกันรับผิด ตามสัญญาข้อ ๒ มีเงื่อนไขไว้ชัดว่า ฝ่ายผู้ขายจะได้ขอให้อำเภอโอนที่ดินใส่ชื่อผู้ขายเป็นเจ้าของแล้วโอนขายให้ผู้ซื้อ คือโจทก์ให้เสร็จใน ๓ เดือนนับแต่วันโอนใส่ชื่อผู้ขายเป็นเจ้าของ โจทก์มาฟ้องก่อนการเป็นไปตามเงื่อนไข จะว่าจำเลยผิดสัญญายังไม่ได้
|
บทความที่น่าสนใจ |
-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่ -ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก -การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม -การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร -เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น -ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร -ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม -ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้ -การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน -เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร
|