เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาคดีผลจะเป็นอย่างไร |
---|
การลงโทษจำเลยในคดีอาญานั้น กฎหมายมุ่งที่จะเอาผิดต่อตัวจำเลยโดยตรง ไม่ได้มุ่งที่จะบังคับเอากับทรัพย์สินของจำเลย เมื่อจำเลยถึงแต่ความตาย ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะเอาผิดกับจำเลยอีกต่อไป ดังนั้น ความตาายของจำเลยย่อมทำให้คดีอาญาระงับไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๘ คดีต้องยุติได้ หากว่ามีการชำระเงินค่าปรับให้แก่ศาลแล้ว และคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลสูง ศาลต้องคืนค่าปรับให้แก่ทายาทจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10488/2558
ป.อ. มาตรา 38 บัญญัติว่า "โทษให้เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด" เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โทษตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงเป็นอันระงับไปตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายยื่นคำร้องขอคืนค่าปรับที่จำเลยชำระต่อศาลตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องคืนเงินค่าปรับให้แก่ผู้ร้อง
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 225 จำคุก 2 ปี และปรับ 10,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 จำเลยชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว แต่ยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลยฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยถึงแก่ความตาย ศาลฎีกามีคำสั่งว่า เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1)ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2556 นายสัญชัย ยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับจำเลย ผู้ร้องจึงเป็นทายาทของจำเลย เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ผู้ร้องจึงขอรับเงินค่าปรับ 10,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางศาลชำระค่าปรับคืนไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้ศาลฎีกาจำหน่ายคดีเพราะจำเลยถึงแก่ความตายมิได้พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองว่าจำเลยไม่มีความผิด ให้ยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ผู้ร้องฎีกา |
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า มีเหตุต้องคืนเงินค่าปรับให้แก่ผู้ร้องหรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 38 บัญญัติว่า "โทษให้เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด" ดังนี้เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โทษตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงเป็นอันระงับไปตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายยื่นคำร้องขอคืนค่าปรับที่จำเลยชำระต่อศาลตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องคืนเงินค่าปรับให้แก่ผู้ร้อง ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษายกคำร้องของผู้ร้องนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องฟังขึ้น พิพากษากลับ ให้คืนเงินค่าปรับ 10,000 บาท ที่จำเลยนำมาชำระต่อศาลชั้นต้นแก่ผู้ร้องในฐานะทายาทของจำเลย |
บทความที่น่าสนใจ |
-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่ -ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก -การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม -การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร -เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น -ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร -ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม -ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้ |