การเข้าเป็นตัวการร่วมกันนั้นต้องเป็นการเข้าร่วมเมื่อใด

การเข้าร่วมกระทำความผิดด้วยกันที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นตัวการนั้นจะต้องเป็นการเข้าร่วมในระหว่างที่มีการกระทำความผิด

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505 - 506/2538

 

การเข้าร่วมกระทำความผิดด้วยกันที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นตัวการนั้นจะต้องเป็นการเข้าร่วมในระหว่างที่มีการกระทำความผิดเมื่อไม่ปรากฎว่าระหว่างที่ อ.กับ น. ไปรับผู้เสียหายออกมาจากบ้านจนถึงเวลาที่นำผู้เสียหายไปยังบ้านที่เกิดเหตุนั้นจำเลยทั้งสองได้มีส่วนร่วมรู้เห็นหรือร่วมกระทำการดังกล่าวด้วยแต่อย่างใดทั้งการที่ อ.กับ น.จะพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารก็ไม่ปรากฎว่าจำเลยทั้งสองร่วมคบคิดหรือนัดแนะกับ อ. และ น. อยู่ก่อนแล้วดังนี้แม้จำเลยทั้งสองได้ตามไปยังบ้านที่เกิดเหตุและได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายจริงก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นตัวการร่วมกับ อ. และ น. พาผู้เสียหายไปในคืนเกิดเหตุจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำพิพากษาฎีกาย่อยาว

คดี ทั้ง สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น รวม พิจารณา พิพากษา เข้า ด้วยกันโดย ให้ เรียก จำเลย ใน สำนวน แรก ว่า จำเลย ที่ 1 เรียก จำเลย ใน สำนวน หลังว่า จำเลย ที่ 2

โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง กับพวก ที่ ยัง จับ ไม่ได้อีก 3 คน ร่วมกัน พราก นางสาว ส. อายุ 15 ปี ไป จาก ความ ปกครอง ดูแล ของ ค. ผู้เป็น มารดา โดย ใช้ อุบาย ล่อลวง นางสาว ส. ให้ หลงเชื่อ ไป กับพวก จำเลย เพื่อ การ อนาจาร โดย นางสาว ส. ไม่เต็ม ใจ ไป ด้วย เมื่อ นางสาว ส. ไป กับพวก จำเลย แล้ว จำเลย ทั้ง สอง กับพวก ใช้ กำลัง ประทุษร้าย กอดปล้ำ และ ร่วมกัน ข่มขืน กระทำ ชำเรา นางสาว ส. อัน มี ลักษณะ เป็น การ โทรมหญิง ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91, 276 วรรคสอง , 318

จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ

ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 วรรคสาม ประกอบ ด้วย มาตรา 83จำคุก คน ละ 9 ปี ใน ชั้นสอบสวน จำเลย ทั้ง สอง ให้การรับสารภาพเป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม คง จำคุก คน ละ 6 ปี จำเลย ที่ 1 แม้ อายุไม่เกิน 20 ปี แต่ พิจารณา ตาม พฤติการณ์ ของ การกระทำ แล้ว ไม่ ลดมาตรา ส่วน โทษ ให้ คำขอ อื่น ให้ยก

จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง

โจทก์ ฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า การ เข้าร่วม กระทำ ความผิด ด้วยกัน ที่กฎหมาย บัญญัติ ว่า เป็น ตัวการ นั้น จะ ต้อง เป็น การ เข้าร่วม ใน ระหว่างที่ มี การกระทำ ความผิด แต่ ใน ทางพิจารณา ก็ ไม่ ปรากฎ ว่า ระหว่าง ที่นาย เอ กับ นาย เนะ ไป รับ ผู้เสียหาย ออก มาจาก บ้าน จน ถึง เวลา ที่ นำ ผู้เสียหาย ไป ยัง บ้าน ที่เกิดเหตุ นั้น จำเลย ทั้ง สอง ได้ มี ส่วน ร่วมรู้เห็น หรือ ร่วม กระทำการ ดังกล่าว ด้วย แต่อย่างใด ทั้ง การ ที่นาย เอ กับ นาย เนะ จะ พา ผู้เสียหาย ไป เพื่อ การ อนาจาร ก็ ไม่ ปรากฎ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ร่วม คบคิด หรือ นัดแนะ กับ นาย เอ และ นาย เนะ อยู่ ก่อน แล้ว ดังนี้ แม้ ข้อเท็จจริง จะ ฟังได้ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ ตาม ไป ยัง บ้าน ที่เกิดเหตุ และ ได้ ร่วมประเวณี กับ ผู้เสียหาย จริง ตาม ที่ โจทก์ นำสืบก็ ถือไม่ได้ว่า จำเลย ทั้ง สอง เป็น ตัวการ ร่วม กับ นาย เอ และ นาย เนะ พา ผู้เสียหาย ไป ใน คืน เกิดเหตุ จำเลย ทั้ง สอง จึง ไม่มี ความผิด ฐาน พรากผู้เยาว์ ไป เพื่อ การ อนาจาร ตาม ที่ โจทก์ ฟ้อง ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้อง ของ โจทก์ ใน ข้อ นี้ ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา ของ โจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่