บุคคลสองคนอาจทำพินัยกรรมในฉบับเดียวกันก็ได้ |
---|
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2537 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องเป็นพี่น้องบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย และก่อนผู้ตายถึงแก่ความตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย |
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ผู้คัดค้านฎีกาข้อแรกว่า พินัยกรรมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706(3) เพราะตามข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวเจตนาอันแท้จริงในการทำพินัยกรรมมิใช่เจตนายกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ทำพินัยกรรมที่มีชีวิตอยู่เพียงแต่เจตนาให้ผู้ทำพินัยกรรมที่มีชีวิตอยู่แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิและหน้าที่รวบรวมรักษาจำหน่ายทรัพย์ให้แก่บุคคลในข้อ (ข) เท่าไรก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร พินัยกรรมนี้จึงเป็นโมฆะทั้งฉบับนั้นเห็นว่า พินัยกรรมที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำร่วมกันในฉบับเดียวตามข้อกำหนดในข้อ (ก) เป็นกรณีที่ผู้ร้องกับผู้ตายแสดงเจตนาไว้ว่าหากผู้ร้องหรือผู้ตายคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตายไปก่อน ให้ทรัพย์สินของผู้ที่ถึงแก่ความตายไปก่อนตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ทำพินัยกรรมที่ยังมีชีวิตอยู่แต่เพียงผู้เดียวและให้เป็นผู้มีสิทธิและหน้าที่รวบรวมเก็บรักษาจัดจำหน่ายหรือแบ่งปัน และยกทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่บุคคลใดก็ได้ตามแต่เจ้าของพินัยกรรมผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่จะเห็นสมควรภายใต้ข้อกำหนดซึ่งระบุไว้ในข้อ (ข) แสดงว่าผู้ร้องและผู้มีเจตนาที่จะยกทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งหากว่าฝ่ายใดถึงแก่ความตายไปก่อน เพียงแต่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในข้อ (ข)โดยให้ผู้รับพินัยกรรมกำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ กรณีถือได้ว่าเงื่อนไขนั้นเป็นอันไม่มีเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1707 มิใช่มาตรา 1706(3) ตามที่ฎีกามา ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนที่ผู้ตายยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องยังคงสมบูรณ์ใช้บังคับได้นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาข้อนี้ของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น |
บทความที่น่าสนใจ |
-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่ -ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก -การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม -การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร -เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น -ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร -ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม -ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้ -การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน -เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร
|