สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดา

บุตรนอกกฎหมายที่บิดารรับรองแล้วมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดา
แม้บุตรนอกกฎหมายจะไม่ได้รับการจดทะเบียนรับรองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่บุตรนอกกฎหมายที่มีสายโลหิตของบิดามารดาและมีพฤติการณ์รับรองบุตรดังกล่าวแล้ว ย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2538
ม. และโจทก์ที่1ได้แสดงความเกี่ยวข้องฉันบิดากับบุตรโดยให้ความอุปการะเลี้ยงดูให้ใช้นามสกุลเดียวกันเป็นพฤติการณ์ที่รู้กันโดยทั่วไปตลอดมาว่าโจทก์ที่1เป็นบุตรโจทก์ที่1จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของ ม. แต่เมื่อ ม. ซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกตายไปก่อนเจ้ามรดกโจทก์ที่1จึงมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ ม. ได้

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น บุตร ของ นาย เมือง เครือนพรัตน์ นาย เมือง เป็น บุตร ของ นาง คำแดง เครือนพรัตน์ นาย เมือง ตาย ไป ก่อน นาง คำแดง โจทก์ จึง มีสิทธิ รับมรดก แทนที่ นาย เมือง นาง คำแดง ตาย เมื่อ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2528 มี มรดก เป็น ที่ดิน รวม 9 แปลง และ บ้าน 1 หลัง จำเลย ทั้ง ห้า กับพวก ได้ ร่วม ทำกลฉ้อฉล โดย ทำ พินัยกรรม ลงวันที่ 1 มีนาคม 2527 พินัยกรรมฉบับนี้ ไม่สมบูรณ์ เพราะ ทำ ขณะ นาง คำแดง ชรา มาก จน ไม่มี สติสัมปชัญญะ หลงลืม เจ็บป่วย และ ไม่ สมัครใจ ทำ พินัยกรรม โจทก์ เพิ่ง ทราบ ว่า มี การทำ พินัยกรรม ยก มรดก ให้ แก่ จำเลย ทั้ง ห้า เมื่อ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2528จึง คัดค้าน ไป ยัง จำเลย ทั้ง ห้า แล้ว ก็ เพิกเฉย ขอให้ เพิกถอน พินัยกรรมลงวันที่ 1 มีนาคม 2527
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 5 ให้การ ว่า นาง คำแดง เครือนพรัตน์ ทำ พินัยกรรม ขณะ มี สติ ดี ไม่ หลงลืม ฟ้องโจทก์ ขาด อายุความ เพราะ ได้ มี การ เปิด พินัยกรรม ให้ ทายาท รู้ ก่อน วันที่11 พฤศจิกายน 2528 โจทก์ จึง รู้ หรือ ควร จะ ได้ รู้ ก่อนหน้า นี้ นานแล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
สิบตรี นพดล เครือนพรัตน์ และ นางสาว จิตรารัตน์ เครือนพรัตน์ ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น โจทก์ร่วม ศาลชั้นต้น อนุญาต และ เพื่อ ความสะดวกใน การ พิจารณา จึง ให้ เรียก นาย บดินทร์ เครือนพรัตน์ โจทก์ เดิม ว่า โจทก์ ที่ 1 สิบตรี นพดล เครือนพรัตน์ ว่า โจทก์ ที่ 2 และ นางสาว จิตรารัตน์ เครือนพรัตน์ ว่า โจทก์ ที่ 3
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน พินัยกรรม ของ นาง คำแดง เครือนพรัตน์ ฉบับ ลงวันที่ 1 มีนาคม 2527
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 5 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน

จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 5 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่านาย รัศมี คงมั่น ปลัดอำเภอ เกาะคา จังหวัด ลำปาง ได้ จัดทำ พินัยกรรม แบบ เอกสาร ฝ่าย เมือง ให้ แก่ นาง คำแดง เครือนพรัตน์ เจ้ามรดก ตาม เอกสาร หมาย จ. 2
ปัญหา สุดท้าย ที่ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 5 ฎีกา ว่า โจทก์ทั้ง สาม ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ โจทก์ ที่ 1 ไม่ใช่ ทายาทโดยธรรม ของนาย เมือง เครือนพรัตน์ บิดา โจทก์ ที่ 1 บิดา โจทก์ ที่ 1 กับ มารดา โจทก์ ที่ 1 แต่งงาน โดย มิได้ จดทะเบียนสมรส การ ที่ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น โจทก์ร่วม กับ โจทก์ ที่ 1 จึง ไม่มี อำนาจฟ้องด้วย นั้น ใน ข้อ นี้ โจทก์ มี นาย เจตน์ เครือนพรัตน์ พี่ชาย โจทก์ ที่ 1ซึ่ง เป็น บุตร ของ นาย เมือง ด้วยกัน มา เป็น พยาน เบิกความ ว่า ขณะที่ นาย เมือง อายุ ประมาณ 50 ปี นาย เจตน์ อายุ ประมาณ 33 ปี นาย เมือง ได้ พา นาย เจตน์ ไป เยี่ยม นาง คำแดง และ โจทก์ ที่ 1 เบิกความ ว่า พี่น้อง ทั้งหมด พร้อม บิดา มารดา โจทก์ ที่ 1 ต่าง อยู่ บ้าน เลขที่ 231/1ถนน ท่าตลาดน้อย ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัด ลำปาง ด้วยกัน ตาม สำเนา ทะเบียนบ้าน เอกสาร หมาย จ. 6 เห็นว่า นาย เมืองกับนายเจตน์ และ โจทก์ ที่ 1 ได้ แสดง ความ เกี่ยวข้อง ฉัน บิดา กับ บุตร ให้ ความ อุปการะเลี้ยงดู ให้ ใช้ นามสกุล เดียว กับ นาย เมือง อันเป็น พฤติการณ์ ที่ รู้ กัน โดย ทั่วไป ตลอดมา ว่า นาย เจตน์ และ โจทก์ ที่ 1 เป็น บุตร ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555(7) โจทก์ ที่ 1 จึง เป็น บุตรนอก กฎหมาย ที่ บิดา รับรอง แล้ว ถือได้ว่า เป็น ผู้สืบสันดาน ของ นาย เมือง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง เป็นทายาทโดยธรรม คนหนึ่ง ของ นาย เมือง มีสิทธิ รับมรดก ของ นาย เมือง แต่ นาย เมือง ซึ่ง เป็น บุตร ของ นาง คำแดง ตาย ไป ก่อน นาง คำแดง โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง เป็น ผู้สืบสันดาน โดยตรง ย่อม มีสิทธิ รับมรดก นาง คำแดง แทนที่ นาย เมือง ได้ โจทก์ ที่ 1 จึง มีอำนาจ ฟ้อง ดังนั้น โจทก์ ที่ 2และ ที่ 3 ซึ่ง ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น โจทก์ร่วม กับ โจทก์ ที่ 1 ย่อม มีอำนาจฟ้อง เช่นกัน ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 5 ใน ข้อ นี้ฟังไม่ขึ้น ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกาจำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 5 ฟังไม่ขึ้น "
พิพากษายืน

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร