ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อรถจะต้องรับผิดชอบเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดอย่างไร

จำเลยที่ 1 เป็นผู้คํ้าประกันตามสัญญาเช่าซื้อโดยตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อผู้เช่าซื้อไม่ชำระหนี้ตามกำหนดจึงตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยที่ 1 ย่อมมีภาระหนี้ที่ต้องชำระแทนผู้เช่าซื้อตามสัญญาคํ้าประกัน และถือว่าจำเลยที่ 1 ตกเป็นลูกหนี้ตั้งแต่ผู้เช่าซื้อผิดนัดเป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 (เดิม) จำเลยที่ 1 จะทราบถึงการผิดนัดของผู้เช่าซื้อลูกหนี้หรือไม่ ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้คํ้าประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาภายหลังผู้เช่าซื้อผิดนัด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอที่จะชำระให้แก่โจทก์ได้ จึงทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉลนั้นได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2564

 

โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 75324 พร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 และให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้กลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับโจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับโจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 5167/2557 ของศาลจังหวัดพระโขนง ซึ่งพิพากษาให้นายวิรัช ผู้เช่าซื้อ นางสาวพรทิพย์ และจำเลยที่ 1 ผู้คํ้าประกันร่วมกันส่งมอบรถคันที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 350,000 บาท และชำระค่าขาดประโยชน์ 27,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 377,000 บาท กับค่าเสียหายเดือนละ 3,000 บาท นับถัดจากวันฟัองเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบรถคันที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคาแทนจนครบจำนวน แต่ไม่เกิน 6 เดือน คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาวันที่ 12 ธันวาคม 2561 โจทก์สืบหลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1 พบว่าเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 จำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 75324 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของตนให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า โจทก์ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้หรือไม่ เห็นว่า การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นหลักประกันในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตาม มาตรา 214 ดังนั้น เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลจึงหมายถึง เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้ และต้องเสียเปรียบจากการที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้ อันเนื่องมาจากการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้ ทั้งนี้ไม่ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตาม แม้เจ้าหนี้ในหนี้ที่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้ก็มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้ และการที่เจ้าหนี้จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้กระทำลงโดยเฉพาะนิติกรรมที่ทำให้โดยเสน่หาได้นั้น เพียงแต่ลูกหนี้กระทำลงโดยรู้อยู่แล้วว่านิติกรรมดังกล่าวทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบก็พอ จำเลยที่ 1 เป็นผู้คํ้าประกันตามสัญญาเช่าซื้อโดยตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อนายวิรัชไม่ชำระหนี้ตามกำหนดจึงตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยที่ 1 ย่อมมีภาระหนี้ที่ต้องชำระแทนนายวิรัชตามสัญญาคํ้าประกัน และถือว่าจำเลยที่ 1 ตกเป็นลูกหนี้ตั้งแต่นายวิรัชผิดนัดเป็นต้นไปตามประมวล


 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 (เดิม) จำเลยที่ 1 จะทราบถึงการผิดนัดของนายวิรัชลูกหนี้ชั้นต้นหรือไม่ ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้คํ้าประกัน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านายวิรัชผิดนัดวันที่ 10 ตุลาคม 2556 จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ภายหลังเวลาที่นายวิรัชลูกหนี้ชั้นต้นตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอที่จะชำระหนื้ให้แก่โจทก์ได้ จึงเป็นนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ตามสัญญาคํ้าประกันกระทำลงในขณะที่มีภาระหนี้ที่ต้องชำระแก่โจทก์ ทำให้โจทก์เจ้าหนี้เสียเปรียบ จากการที่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลดลงไม่พอชำระหนี้ โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่โจทก์จะบังคับคดีได้อีก ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา จำเลยที่ 1 ย่อมรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซึ่งเป็นการฉ้อฉลนั้นเสียได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นอนึ่ง เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 ย่อมกลับมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินโดยผลของคำพิพากษา ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องบังคับจำเลยทั้งสองต้องปฏิบัติโดยการแสดงเจตนาอีก จึงไม่จำต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนการโอนที่ดินให้กลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1พิพากษากลับ ให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 75324 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่