|
ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) โดยตกลงผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยรายเดือนรวม 36 งวด เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 23 มกราคม 2555 และชำระงวดถัดไปทุกวันที่ 23 ของทุกเดือน หากผิดนัดไม่ชำระหนี้งวดใด ยินยอมให้ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) เรียกดอกเบี้ยอัตราสูงสุด ค่าปรับล่าช้า และมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดคืนได้ทันที อันเป็นการฟ้องขอให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ซึ่งมีข้อตกลงชำระหนี้ผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (2) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ดังกล่าวจึงมีกำหนดอายุความห้าปีนับแต่วันผิดนัดชำระหนี้ การที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาโดยชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายวันที่ 15 ตุลาคม 2555 จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระงวดที่เหลือทั้งหมดตลอดมา สิทธิเรียกร้องในกรณีหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ย่อมเกิดขึ้นนับแต่นั้น อายุความฟ้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างย่อมต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (2) คือ เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป โจทก์ในฐานะผู้รับโอนต้องรับสิทธิเรียกร้องของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) โดยต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในอายุความ ซึ่งจะครบกำหนดห้าปีในวันที่ 16 ตุลาคม 2560 เมื่อก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้เดียวกัน เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 ภายในกำหนดอายุความ 5 ปี ตามกฎหมาย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องเข้ามาเป็นคดีใหม่ภายในอายุความ และคู่ความไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกากับฎีกาคัดค้านคำพิพากษาดังกล่าว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีผู้บริโภค จึงเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น คือ วันที่ 31 ตุลาคม 2560 ดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคท้าย อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับแก่การฎีกาคดีผู้บริโภคโดยอนุโลม ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 51 ประกอบมาตรา 49 วรรคสอง เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีผู้บริโภค ในคดีก่อนที่พิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องเข้ามาเป็นคดีใหม่ภายในอายุความ ถึงที่สุดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2560 อันเป็นเวลาภายหลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง การที่โจทก์เสนอคำฟ้องเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 จึงเป็นการฟ้องคดีเมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีก่อนถึงที่สุด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้นพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ บทความที่น่าสนใจ-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่ -ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก -การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม -การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร -เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น -ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร -ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม -ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้ -การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน -เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร -การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ -คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้ -ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้ -ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร -ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ -หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่ -การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด -ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่ -ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร -คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว -การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่
|