เจ้าพนักงานตำรวจเขียนใบสั่งจ่ายน้ำมันโดยไม่มีอำนาจมีความผิดฐานใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5599/2541

จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเขียนข้อความลงในใบสั่งจ่ายน้ำมัน ทั้ง ๆ ที่ทราบว่าตนไม่มีอำนาจกระทำได้ จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร การที่จำเลยนำเอกสารปลอมไปยื่นต่อพนักงานของ สถานีบริการน้ำมันเพื่อประโยชน์ในการเติมน้ำมันใส่รถยนต์ของจำเลย จึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมด้วย เอกสารใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวเป็นเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำหน้าที่พลขับจะต้องกรอกข้อความให้ชัดเจนว่าเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในราชการใด จำนวนเท่าใด จึงเป็นการทำขึ้นในหน้าที่ อันเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 1(8) การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอม ใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกลักไป ต่อมาตกอยู่ในความ ครอบครองของจำเลย เมื่อจำเลยนำไปกรอกข้อความเพื่อใช้สิทธิเติมน้ำมัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทราบว่าใบสั่งจ่าย น้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำพิพากษาฎีกาย่อยาว

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 188, 264, 265, 268, 335, 357, 91

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 และมาตรา 357 วรรคแรกการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานรับของโจร จำคุก 1 ปีฐานปลอมเอกสารราชการ 3 กระทง และฐานใช้เอกสารปลอม 3 กระทงแต่จำเลยใช้เอกสารปลอมขึ้นเองจึงลงโทษฐานใช้เอกสารราชการปลอมตามมาตรา 268 วรรคสอง เพียง 3 กระทง จำคุกกระทงละ 1 ปีรวมจำคุก 4 ปี ข้อหาอื่นให้ยก

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใช้เอกสารราชการปลอม 3 กระทง จำคุกกระทงละ 6 เดือน เมื่อรวมกับโทษในข้อหารับของโจรตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วเป็นจำคุก 2 ปี 6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกาโดยผู้พิพากษาซึ่งลงในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยรับราชการอยู่ที่สถานีตำรวจทางหลวง 1 กองกำกับการ 5 จังหวัดตาก ในตำแหน่งพนักงานวิทยุประจำสถานีและเคยได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงานประจำรถโดยนั่งรถวิทยุตำรวจทางหลวงไปกับเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นผู้บังคับรถหรือพลขับในการเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำมาใช้กับรถวิทยุตำรวจดังกล่าว ทางสถานีตำรวจทางหลวง 1 กองกำกับ 5จังหวัดตากมีข้อตกลงกับสถานีบริการน้ำมันรวม 3 แห่งห้างหุ้นส่วนจำกัดพงษ์เกษตรบริการเป็นสถานีบริการน้ำมันแห่งหนึ่งที่มีข้อตกลงกับสถานีตำรวจทางหลวง 1 โดยตกลงว่าเมื่อมีการนำรถยนต์ตำรวจของสถานีตำรวจทางหลวง 1 กองกำกับการ 5จังหวัดตาก มาเติมน้ำมัน พลขับประจำรถแต่ผู้เดียวจะเป็นผู้กรอกข้อความในใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง แล้วมอบให้สถานีบริการน้ำมันไว้แล้วสถานีบริการน้ำมันจะให้พลขับลงชื่อในใบยืมสินค้า เมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนจึงจะนำใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงมาเบิกเงินจากสถานีตำรวจดังกล่าวต่อมาตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้อง ใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง เลขที่ 742288, 742396และ 682887 ซึ่งอยู่ในความครอบครองของนายดาบตำรวจสุรชัย จินดากูลจ่าสิบตำรวจวุฒิ ผลเจริญ และนายดาบตำรวจชลิต ปราณี ตามลำดับถูกคนร้ายลักไป ต่อมาวันที่ 17 มิถุนายน 2534 วันที่ 18มิถุนายน 2534 และวันที่ 5 กรกฎาคม 2534 มีผู้นำใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวไปกรอกข้อความแล้วนำไปยื่นต่อนายเพชรยิ้มงาม และนายสมเดช เกษรังสรรค์ พนักงานของสถานีบริการน้ำมันห้างหุ้นส่วนจำกัดพงษ์เกษตรบริการ เพื่อเติมน้ำมันเชื้อเพลิงตามเอกสารหมาย จ.1 ป.จ.1 (ศาลจังหวัดตาก) และ ป.จ. 3(ศาลจังหวัดตาก)

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกมีว่า จำเลยกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมหรือไม่ เห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้เขียนข้อความลงในใบสั่งจ่ายน้ำมัน ทั้ง ๆ ที่ จำเลยทราบดีว่าไม่มีอำนาจกระทำเช่นนั้นได้ จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานปลอมเอกสารและข้อเท็จจริงยังฟังได้ต่อไปว่า จำเลยนำเอกสารปลอมไปยื่นต่อพนักงานของสถานีบริการน้ำมันเพื่อประโยชน์ในการเติมน้ำมันใส่รถยนต์ของจำเลย จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมด้วยและเอกสารใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวเป็นเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งทำหน้าที่พลขับจะต้องกรอกข้อความให้ชัดเจนว่าเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในราชการใด จำนวนเท่าใดอันเป็นการทำขึ้นในหน้าที่ จึงเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(8) จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการปลอม ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงถูกลักไป ต่อมาได้ตกอยู่ในความครอบครองของจำเลย โดยจำเลยนำไปกรอกข้อความเพื่อใช้สิทธิเติมน้ำมันทั้ง ๆ ที่จำเลยไม่มีสิทธิที่จะทำได้ แสดงว่าจำเลยรับไว้โดยทราบว่าใบสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร พยานหลักฐานจำเลยไม่สามารถหักล้างพยานโจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่